ทำไมภาวะมีบุตรยากเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน
1. ปัจจุบันคนแต่งงานช้ามากขึ้น
2. การเข้าสังคมกิน เที่ยว ดื่ม ปัญหาสุขภาพ
3. อายุที่มาก
6 สาเหตุใหญ่การมีบุตรยาก ในการแพทย์จีน
1. ไตบกพร่อง มดลูกเล็กเกินไป ประจำเดือนมาน้อย
2. ตับบกพร่อง ประจำเดือนไม่ปกติ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่แข็งแรง
3. เลือดลมบกพร่อง ไม่ค่อยย่อยอาหาร จุกเสียดง่าย
4. เสลดเกาะตามชีสต์รังไข่ ประจำเดือนไม่มา ผังผืด
5. เป็นคนธาตุร้อนเกิน ช่วงเชิงกรานอักเสบ
6. เลือดคั่ง ท่อนำไข่ตีบ เนื้องอก ผังผืดในมดลูก หรือที่ปากช่องคลอด
1 เดือนโอกาสมีลูกแค่ 1 วัน วันไข่ตกจะเป็นวันที่อยู่ตรงกลางระหว่างวันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนของเดือน ที่ผ่านมา และวันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนของเดือนต่อไป
ซึ่งจะใช้ได้ผลสำหรับผู้ที่มีประจำเดือนปกติเท่านั้น ซึ่งใน 1 เดือนจะมีวันไข่ตกได้เพียง 1 วัน
และไข่จะมีอายุอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งปกติในคู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละอย่าง น้อย 2-3 วัน (ไม่ได้คุมกำเนิด)
โดยทั่วไปภายใน 5 เดือน จะมีโอกาสตั้งครรภ์ ร้อยละ 50 และในเวลา 1 ปีโอกาสการตั้งครรภ์ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80-90 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว การตั้งใจที่จะมีบุตร ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หากทุกอย่างไม่สมบูรณ์ ในเวลาที่เหมาะสมและถูกต้อง
หลายคนลองมาทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นการนับวันตกไข่ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย อย่างเช่น การคัดเชื้อฉีดผสมเทียม ทำกิ๊ฟ หรือเด็กหลอดแก้ว
แต่ก็ยังไม่ได้ผล การรักษาด้วยยาจีนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
เนื่องจากจะเน้นการปรับสมดุลย์ร่างกายเราก่อนเป็นพื้นฐานสำคัญเพราะว่าอวัยวะทุกอย่าง
ในร่างกายนั้นล้วนทำงานอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการรักษาเรื่องภาวะมีบุตรยากแล้ว
ยังส่งผลทำให้สุขภาพดีขึ้น และยังช่วยให้ห่างไกลโรคอีกด้วย หญิง-ชายต้องตรวจภายในก่อนรักษา
ฝ่ายหญิง ต้องตรวจ 3 ประเภทด้วยกันคือ หนึ่งให้ตรวจอุลตร้าซาวน์ช่องท้อง มดลูก และรังไข่
ในช่วง 1 สัปดาห์หลังประจำเดือนหมดแล้ว สองให้ตรวจฮอร์โมน 6 ชนิดด้วยกัน คือ TSH, FSH, LH, Estradiol, Prolactin และ Progesterone
ซึ่งระยะเวลาการตรวจที่ดีที่สุดคือช่วงมีประจำเดือน 2-4 วัน และสามตรวจดูท่อนำไข่ว่าอุดตันหรือไม่
ซึ่งควรตรวจช่วง 9 -10 วันหลังมีประจำเดือน ฝ่ายชาย ต้องตรวจน้ำเชื้ออสุจิ ว่าเชื้ออสุจิมีปริมาณมากหรือน้อย และมีความแข็งแรงหรือไม่
โดยควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนทำการตรวจ
“แมะ”- “ดูลิ้น” แก้ปัญหาตรงจุด หลังจากได้รับผลตรวจแล้ว จึงค่อยเดินทางไปตรวจแบบ “การแมะ” ตามตำราแพทย์แผนจีน ซึ่งจะมีการดูผลการตรวจของแพทย์แผนปัจจุบัน อาการของผู้ป่วย ร่วมกับการแมะ และการดูลิ้น เพื่อหาวิธีรักษาที่ดีที่สุด ตรงจุดปัญหาที่สุด และจะเน้นการใช้วิธีตามธรรมชาติ
Photo credit Designed by Freepik