โรคเบาหวานรักษาด้วยแพทย์แผนจีนได้ไหม
เบาหวาน ในศัพท์แพทย์แผนจีน มีชื่อว่า “เซียวเข่อ” มีอาการดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม สาเหตุพื้นฐานเกิดจากหยินพร่อง ร่วมกับวิถีการดำเนินชีวิตไม่ได้สมดุล โดยเฉพาะจากอาหารการกิน อารมณ์ ความเครียด ผลที่ตามมาคือ หยินพร่องมีความร้อนแห้งในอวัยวะภายใน ตามด้วยการพร่องของหยินและพลังหยาง และท้ายสุดคือ การเสียทั้งไตหยิน ไตหยางของร่างกาย ภาวะแห้งร้อนและหยินพร่องทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการแสดงออกมากมาย รวมทั้งเกิดเสมหะและเลือดอุดกั้น มีอาการแทรกซ้อนมากมาย เช่น ที่ตา (ต้อกระจก) ที่หู (หูอื้อ) หูมีเสียง ที่ปลายมือปลายเท้า หัวใจ ไตเสื่อม ไตวาย แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง
ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน เบาหวานเป็นผลจากกรรมพันธุ์ และภาวะต่างๆ ที่ทำให้การทำงานของตับอ่อนผลิตอินซูลินลดน้อยลง หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
ชนิดของเบาหวาน
1. เบาหวานส่วนบน (ซ่างเซียว) ปอดร้อนขาดสารน้ำ
อาการ : คอแห้ง กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ร่วมกับน้ำหนักลด ซูบผอม ปัสสาวะบ่อยและมาก
การตรวจ: ขอบลิ้น ปลายลิ้นแดง ฝ้าเหลืองขาว ชีพจรแรง เต็ม เร็ว
2. เบาหวานส่วนกลาง (จงเซียว) กระเพาะอาหารร้อนแกร่ง
อาการ : กินมาก หิวง่าย อุจจาระแห้ง ร่วมกับร่างกายซูบผอม
การตรวจ : ฝ้าเหลืองแห้ง ชีพจรลื่น แรง
3. เบาหวานส่วนล่าง (เซี่ยเซียว)
3.1 ไตหยินพร่อง
อาการ : ปัสสาวะบ่อย ปริมาณมาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และร้อนบริเวณหน้าอก
การตรวจ : ลิ้นแดง ชีพจรจม เล็ก เร็ว
3.2 ไตยิน ไตหยางพร่อง
อาการ : ปัสสาวะบ่อย (ดื่ม ๑ ส่วน ปัสสาวะ ๒ ส่วน) กลัวเย็น กลัวหนาว ร่วมกับปัสสาวะขุ่นขาว ใบหน้าดำคล้ำ ใบหูแห้ง เอว เข่าปวดเมื่อย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การตรวจ : ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรจม เล็ก ไม่มีแรง
หลักการรักษาที่ดีที่สุด คือ แบบผสมผสาน ระยะแรกต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วยยาแผนปัจจุบัน แล้วให้ยาสมุนไพรจีนร่วมกันในการปรับสมดุลร่างกายและร่วมกับการควบคุมปัจจัยอาหาร อารมณ์ เพศสัมพันธ์ให้สมดุล ตรวจเช็คน้ำตาลในเลือดควบคู่กันไป ถ้าระดับน้ำตาลและสภาพร่างกายดีขึ้น (ตรวจแบบแพทย์แผนจีนและอาการแสดงออกดีขึ้น) จึงอาจพิจารณาลดยาเบาหวานลงตามความเห็นของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาควบคุมน้ำตาลทันที ในขณะที่ร่างกายยังไม่สามารถสร้างสมดุล หรือการทำงานของตับอ่อนยังไม่ดีขึ้น ผลการรักษาได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับหลายปัจจัย ดังนั้นควรรักษาโรค (ควบคุมน้ำตาล=แผนปัจจุบัน) และรักษาคน (ปรับสมดุล=แพทย์แผนจีน) ควบคู่ไปด้วยกัน
ยารักษาเบาหวาน อั่งเซียมเซียงตาง
สรรพคุณ : บำรุงร่างกาย ลดเบาหวาน
ตัวยาสำคัญ : โสมแดง มะระขี้นก เก้าคี้จี้ ปักคี้ผิวดำ
ความน่ากลัวของเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังจะมีอาการแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคไต อัมพฤกษ์อัมพาต เบาหวานขึ้นตา ประสาทตาเสื่อม มือเท้าชา เส้นเลือดอุดตัน นิ้วเท้าดำ เป็นแผลเรื้อรัง หลักการรักษาอาการแทรกซ้อน ได้แก่ การกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนสะดวก แก้ไขเลือดคั่ง นอกจากนี้ใช้วิธีฝังเข็มเพื่อรักษามือเท้าชา อัมพฤกษ์อัมพาต การรักษาแผนจีน มีเป้าหมายสำคัญให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักไม่หายขาด จำเป็นต้องรักษาตลอดชีวิต ผู้ป่วยจึงต้องยืนหยัดตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันทั้ง 2 แผนประสานกัน ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น และสามารถบรรเทาอาการแทรกซ้อนของโรค ชะลอการแทรกซ้อนและทำคุณภาพชีวิตตัวเองให้ดีมีความสุข
บำรุงหัวใจ ซิมปอจือตาง
สรรพคุณ : บำรุงหัวใจ เพิ่มอ๊อกซิเจนในเลือด
ตัวยาสำคัญ : เซียนจา ฉั่งฉิก แล่งจือ ซัวเจ่า จิงอันสวน
สกัดจากสมุนไพรจีนแท้ๆ ชั้นดีแผนโบราณ ไม่ใช่ยาสังเคราะห์ ไม่มีสารสเตียรอยด์ ที่ผ่านการปรุงจากแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วยสมุนไพรจีนหลายชนิดที่มีปริมาณพอเหมาะพอดี ทำให้แต่ละตัวออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสมุนไพรที่ให้ผลในการรักษาบำรุงหัวใจ บำรุงไต เพิ่มอ๊อกซิเจนในเลือด ทำให้ปัสสาวะคล่อง ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และภาวะหัวใจล้มเหลว
ระบบหัวใจในแพทย์แผนจีน คือ ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือด หากการทำหน้าที่นี้ไม่ดี จะแสดงออกมาในสองด้าน คือ ด้านที่มีเลือดน้อยซึ่งจะเรียกว่าภาวะชี่ของหัวใจพร่องหรือเลือดพร่องซึ่งมีอาการใบหน้าซีดขาว ริมฝีปากซีด ลิ้นซีด ชีพจรเต้นอ่อนไม่มีแรง กับด้านที่เลือดเกิดการคั่งค้างไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะไม่ได้ เรียกว่า ภาวะเลือดคั่งค้าง ซึ่งมีอาการแสดงที่สำคัญได้แก่ เจ็บเขตหน้าหัวใจ ใบหน้ามีสีคล้ำ ริมฝีปากและลิ้นมีสีเขียวอมม่วง ชีพจรเต้นไม่คล่อง ระบบหัวใจยังเกี่ยวข้องกับความคิดจิตใจ โดยจิตใจที่ผ่องใส การมีสติ ความคิดที่เฉียบแหลม ปฏิกิริยาการตอบสนองที่รวดเร็ว เหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับระบบหัวใจ หากเกิดความผิดปกติจะทำให้เกิดอาการ เช่น นอนไม่หลับ ฝันมาก จิตใจสับสน การตอบสนองเชื่องช้า กระทั่งมึนงง ไม่ได้สติ กล่าวในแง่นี้แล้วระบบหัวใจในศาสตร์แพทย์จีนได้รวมบทบาทและหน้าที่ของสมองและระบบประสาทไว้ด้วยกัน
หวู่อื๊อเซียงตาง สรรพคุณ : ปรับธาตุ
ตัวยาสำคัญ : ตานเซียง เทียนจู่หวง หนิวหวง
ประกอบด้วยสมุนไพรจีนหลายชนิดที่ให้ผลในการปรับธาตุ ปรับสมดุล หยินหยาง กินอาหารตามธาตุ “ธาตุ” หมายถึง “สภาวะสภาพ” ดังนั้น การกินอาหารตามธาตุ จึงหมายถึง ” การกินอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะสภาพของร่างกาย” นั่นเอง แนวคิดการแพทย์แผนจีน กล่าวว่า “อาหารและยามาจากแหล่งเดียวกัน” ในแพทย์แผนจีน ได้กล่าวถึงรสชาติของอาหารที่เข้าสู่ส่วนอวัยวะต่าง ๆ ร่างกาย เช่น รสเปรี้ยวเข้าตับ รสขมเข้าหัวใจ รสหวานเข้าม้าม (หรือระบบย่อยอาหาร) รสเผ็ดเข้าปอด รสเค็มเข้าไต นอกจากนี้ยังกล่าวถึงสีของอาหารไว้ด้วย ดังนี้ สีเขียวเข้าตับ สีแดงเข้าหัวใจ สีเหลืองเข้าม้าม สีขาวเข้าปอด สีดำเข้าไต นั่นคือ อาหารที่กินเข้าไปจะไปบำรุง และทำร้ายอวัยวะที่แตกต่างกันในร่างกาย
ไป่ตั๊กเซียงตาง
สรรพคุณ : ล้างสารพิษจากร่างกาย
ตัวยาสำคัญ : เทียนตง เบ้กฉ้งย้ง หล่อฮังก้วย ฮวงเซียะเอี๊ยะ
ประกอบด้วยสมุนไพรจีนหลายชนิดที่ให้ผลในการขับล้างสารพิษภายในร่างกาย ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
การล้างพิษเพื่อขับของเสียและสารพิษให้ออกไปจากร่างกาย เมื่อ
- ร่างกายอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง เซื่องซึม หดหู่ใจ ไม่กระปรี้กระเปร่า
- มีอาการของโรคภูมิแพ้ มักแพ้อะไรง่าย เช่น แพ้กลิ่นต่างๆ แพ้อากาศบ่อยๆ
- มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้ไม่สบายหรือเป็นหวัดได้ง่าย
- ปวดศีรษะ มึนงงบ่อยๆ ขี้ลืม สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดอะไรไม่ค่อยออก
- มีสิวและผดผื่นขึ้น มีกลิ่นปาก หรือมีแผลในช่องปาก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
- นอนหลับยาก รู้สึกว่านอนไม่พอ อารมณ์แปรปรวนง่าย ประสาทตึงเครียด
- จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้องเป็นประจำ เพราะระบบการย่อยอาหารมีปัญหา มักเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ ริดสีดวงทวาร ท้องผูกเป็นประจำ ท้องเสียง่าย
- ผิวหมองคล้ำ เกิดริ้วรอยง่าย ผิวแห้งและหยาบกร้าน ดูแก่กว่าวัย
- มักปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหรือข้อต่อต่างๆ
photo credit Designed by Freepik