การฝังเข็มและรมยามีมาตามประวัติมากว่า 2000 ปีแล้ว วิธีนี้เป็นการบำบัดทางกายภาพ คือใช้การกระตุ้นและความร้อนในขีดต่างกันตรงจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย(แพทย์จีน เรียกจุดพวกนี้ว่า จุดฝังเข็ม) เพื่อปรับและแก้ไขสมรรถภาพการทำงาน ทางชีวภาพของร่างกายซึ่งสูญเสียภาวะปกติไป ด้วยปฏิกิรยาสะท้อนกลับของประสาท เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเอาชนะโรคต่างๆได้ การอาศัยความร้อนที่เผาตัวยาสมุนไพรแล้วส่งผ่านความร้อนเข้าสู่ชั้นผิวหนังซึ่งมีสรรพคุณสามารถให้ความอบอุ่นแก่เส้นลมปราณ เกิดการไหลเวียนของชี่และเลือดขับความชื้นและความเย็นในร่างกาย
– ลดอาการบวม ให้ความอบอุ่น
– ลดปวดประจำเดือน โรคประจำเดือนผิดปกติ วัยทอง
– ปรับสมดุลหยิน หยาง เพิ่มสมรรถภาพ ระบบไหลเวียนของเลือด ปรับสมดุลของการทำงานของอวัยวะต่างๆ
– ช่วยเพิ่ม ระบบเผาผลาญในร่างกายให้ดีขึ้น
– เพิ่มภูมิคุ้มกัน ในร่างกาย ช่วยป้องกันการก่อโรคต่างๆในร่างกาย
– โรคที่ความเย็นสะสม โรคอักเสบรูมาตอยด์กระดูกงอกจาก แคลเซียมเกาะ
– โรคระบบทางเดินอาหาร นอนไม่หลับ โรคระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน(โรคที่พบมาก ในทางนารีเวช)
– ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เป็นไข้หวัดประจำ ) กลุ่มอาการความอ่อนล้า ภูมิแพ้จมุก
– โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบปวดตามข้อ (Rheumatic Myoritis) , โรคไขข้ออักเสบ (Arthritis)
– โรคประสาทอ่อน (Neurasthenia), โรคปวดวิถีประสาทชนิดต่างๆ (Neuralgia)
– โรคกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต (Facial paralysis) และโรคต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรง
– อาการปวดฟันที่เกิดจากฟันผุ เราสามารถใช้การฝังเข็มรมยาระงับปวดได้ชั่วคราว
– โรคอื่นๆ ตามจุดฝังเข็ม
ในหลายปีมานี้ จีนมีรายงานการแพทย์เรื่องการฝังเข็มรมยาตามการศึกษาและทดสอบจากคนไข้โดยตรงออกมาอยู่เรื่อยๆ เช่น ใช้การฝังเข็มรมยารักษาคนไข้ โรคอัมพาตที่เป็นมานานถึง 15 ปี และอาการตกค้างของโรคโปลิโอได้ และยังรักษาอาการหูหนวกเป็นไบ้ ให้คนหูหนวกคนใบ้ฟังและพูดได้ ใช้การรักษาด้วยวิธี “ฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม” รักษาอาการปวดเอวปวดขาเรื้อรังให้หายได้ จนทำให้โรคที่ “รักษาไม่หาย” กลายเป็นโรคที่รักษาหายได้” และยังตีพิมพ์ตำราฝังเข็มออกมาไม่น้อย ทำให้วงการแพทย์นานาชาติให้ความสำคัญกับวิชาฝังเข็ม อันเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่วิชาฝังเข็มรมยา
ข้อควรระวัง ห้ามทำการรมยา
1. ถ้ามีอาการอ่อนเพลียอย่างมาก อิ่มหรือหิวเกินไป ขณะเมา เสียเหงื่อเป็นจำนวนมาก อารมณ์แปรปรวน
2. ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อ ผู้ที่มีแผลหรือการบาดเจ็บทางผิวหนัง หรือ ประสาทการรับรู้ความรู้สึกน้อย เป็นไข้สูง
3. สตรีมีครรภ์
4. ในช่วงครึ่ง ชม หลังการรักษาด้วยการรมยาแล้วห้ามสัมผัสหรือดื่มน้ำเย็น